
ลิขสิทธิ์ทางปัญญา
สาระน่ารู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ May 10, 2019, Comments Offผลงานที่สร้างจากคนๆ หนึ่งควรได้รับความคุ้มครองในสิทธิ์ของความเป็นเจ้าของ ดังนั้นจะให้คนรู้ยอมรับว่าเป็นเจ้าของจะต้องนำผลงานไปจดขึ้นทะเบียนขึ้นลิขสิทธิ์เสียก่อน โดยสิ่งเรียกว่าลิขสิทธิ์ทางปัญญาจะหมายความรวบคุมสิ่งที่ไม่อาจจำต้องได้ เป็นความคิดไอเดียต่างๆ ที่อาจจะนำไปใช้ในอนาคต หรือ กรรมวิธีการผลิต ในทางสากลแล้ว ลิขสิทธิ์ทางปัญญาอยู่ในหมวดทรัพย์สินทางปัญญาที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และ ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ หมายความว่าเจ้าของสามารถที่จะแก้ไข ปรับแต่ง นำไปใช้ ผลงานที่ตนเองเป็นเจ้าของได้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งผู้อื่นไม่สามารถนำไปใช้งานได้ อย่างเช่น ภาพยนตร์ ดนตรี วรรกรรม เพลง ส่วนทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมคือการออกสิทธิบัตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมรม เช่น สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบ หรือ เครื่องหมายการค้า ผู้ที่เป็นเจ้าของจะมีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินของตนเองได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ผู้อื่นไม่สามารถนำไปใช้ได้ ไม่เช่นนั้นจะสามารถนำไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
การจดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา
โดยปกติแล้วงานที่ถูกสร้างด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่จำเป็นจะต้องนำไปจดลิขสิทธิ์ เพราะว่าเจ้าของผลงานจะได้รับการปกป้องทันทีเมื่อผลงานถูกสร้างขึ้นมา โดยจะได้รับการคุ้มคลองผลงานตลอดอายุขัยของผู้สร้าง แต่เมื่อผู้สร้างเสียชีวิต ผลงานจะมีความคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี แต่ถ้าผลงานถูกสร้างโดยการว่าจ้างของบริษัท ผลงานจะมีการคุ้มครองตั้งแต่สร้างเสร็จเป็นระยะเวลา 50 ปี แต่การจดทะเบียนให้ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่สมควรทำเช่นกัน เมื่อกำลังวางแผนจะนำผลงานไปเผยแพร่หรือขาย เพราะจะได้ป้องกันสิทธิความเป็นเจ้าของได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยไม่ต้องกังวลว่าใครจะมานำผลงานไปดัดแปลงง่ายๆ
สิ่งที่ต้องมีก่อนที่จะยื่นคำขอจดลิขสิทธิ์
1.จะต้องเป็นงานที่สร้างสรรค์ด้วยความคิดเท่านั้น
2.จะต้องเป็นงานที่สร้างขึ้นด้วยความสามารถของตนเอง
3.จะต้องไม่เป็นงานที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม
สิ่งที่สามารถนำมาจดลิขสิทธิ์ได้ประกอบด้วย หมวดวรรณกรรม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือการ์ตูน หมวดนาฎกรรม เช่น ท่าเต้น หมวดศิลปกรรม เช่น ภาพวาด ประติมากรรม รูปถ่าย ดนตรีกรรม คำร้อง และทำนองเพลง หมวดภาพยนตร์ แบบ ซีดี และ ดีวีดี และหมวดสิ่งบันทึกเสียง แบบซีดี สิ่งที่จะนำมาจดลิขสิทธิ์ไม่ได้คือความคิด หรือ กรรมวิธีการผลิต ซึ่งจะต้องนำไปจดทะเบียนแบบสิทธิบัตรแทน และรวมถึงข่าวสารต่างๆ ที่ไม่สามารถนำมาขึ้นทะเบียนได้
โดยการขึ้นทะเบียนจะต้องกรอกเอกสารแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ส่งไปที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยดาวโหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์ www.ipthailand.go.th โดยสามารถเข้าไปส่งเอกสารโดยตนเองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 3 หรือจะใช้บริการส่งไปรษณีย์ก็ได้ ให้ส่งไปที่ 563 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์11000 หรือเข้าไปติดต่อได้ที่สำนักงานพาณิชย์ของจังหวัดที่ใกล้เคียง